วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21

การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 – 2561 )ที่ดำเนินไปในห้วงเวลาปัจจุบันนี้นั้น กล่าวกันว่าการศึกษากับการพัฒนาสังคมเป็นกระแสหลักสำคัญที่สังคมโดยรวมต่างเฝ้าจับตามองในกระบวนทัศน์ของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆที่ส่งผลต่อการพัฒนา ซึ่งก็คงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองในปัจจุบันได้มุ่งเน้นในมิติของการพัฒนา 4 มิติสำคัญได้แก่ การปฏิรูปนักเรียนยุคใหม่ การปฏิรูปครูยุคใหม่ การปฏิรูปโรงเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการปฏิรูประบบบริหารจัดการยุคใหม่ ซึ่งในทุกมิตินั้นจะมีความสอดรับสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลของการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 – 2561 ) ดังกล่าวสำหรับการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่นั้น ได้มีข้อเสนอแนะในเชิงยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาหลากหลายแนวทางตามข้อเสนอของคณะกรรมการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการที่ได้เสนอแนะไว้ทั้งนี้เพื่อสร้างให้ครูยุคใหม่มีบทบาทในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอตามเกณฑ์และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และในขณะขณะเดียวกันสามารถพัฒนาตนเอง และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีสภาวิชาชีพที่เข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพ มีขวัญกำลังใจอยู่ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาวิชาชีพครูภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมในช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุดของศาสตร์แห่งวิชาชีพความเป็นครู ทั้งนี้คงสืบเนื่องมาจากสภาพทางบริบทรอบด้านที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาของยุคปฏิรูปในทศวรรษที่สองนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีดัชนีบ่งชี้ ( Indicators ) หลายประการที่บ่งบอกและสะท้อนผลให้ทราบทั้งที่เป็นภาพในเชิงบวกบวกและลบควบคู่กันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ ( Output )ที่เกิดกับผลผลิตของกระบวนการจัดการศึกษาซึ่งก็หมายถึงผู้เรียนนั่นเองที่เป็นสิ่งบ่งบอกหรือเป็นสัญญาณของการสะท้อนภาพดังกล่าวออกมาสู่สังคมจากกระแสของการปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นการตอบโจทย์สำคัญที่สังคม โดยรวมต่างมุ่งเป้าหมายกลุ่มใหญ่ไปที่ “ครูอาจารย์” ในด้านประสิทธิภาพและศักยภาพของการจัดการเรียน การสอนให้กับผู้เรียน โดยมิอาจหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความรับผิดชอบเหล่านี้ได้
ดังนั้นมาตรการและแนวทางของการยกระดับการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของวิชาชีพแห่งความเป็นครูจึงถูกกำหนดขึ้นในหลากหลายกลยุทธ์เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดสมรรถนะเชิงวิชาชีพในระดับต่างๆจะเป็นประเด็นสำคัญของการสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาศาสตร์แห่งความเป็นครูให้บรรลุผล สอดรับกับสถานการณ์และบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ก้าวไปในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีบทความนี้ผู้เขียนขอน าเสนอการพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพแห่งความเป็นครู ซึ่งเป็นข้อเสนอและแนวทางในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างมโนทัศน์พื้นฐาน ( Fundamental Concepts ) ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้บรรลุผลความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปครูยุคใหม่ภายใต้กระแสทรรศน์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนี้
สมรรถนะวิชาชีพครู : ความหมายและความสำคัญ
ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าข้ามพรมแดนมาถึงกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้มีการปรับเปลี่ยนไปจากระบบการศึกษาในรูปแบบดั้งเดิมที่มีครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนฝ่ายเดียว ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองที่นักเรียนสามารถแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งท้าทายครูยุคใหม่ในการจัดองค์ความรู้ให้บังเกิดผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ดังนั้นครูจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมวิชาชีพครูได้อย่างมี ประสิทธิภาพตามความคาดหวังขององค์การทั้งระดับโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ มีการให้นิยามความหมายของคำว่า “สมรรถนะ ( Competency )” ไว้ว่า หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ ( Knowledge ) ทักษะ ( Skill ) ความสามารถ ( Ability ) และคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Other Characteristics ) ที่ทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้สำเร็จและบรรลุผลสัมฤทธิ์ขององค์การ หรืออาจกล่าวสรุปได้ว่า
สมรรถนะ หมายถึงบุคลิกลักษณะที่ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด และสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้ดีกว่าผู้อื่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สมรรถนะหมายถึง พฤติกรรมการปฏิบัติงานซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมอื่นๆที่ทำให้สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานในองค์กร ดังนั้นสมรรถนะครูจึงหมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะของครูที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ สมรรถนะครูจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการขององค์การทางการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาในสภาพการณ์ทางการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาพบว่าการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูยังเป็นสิ่งที่ต้องมีการพัฒนาค่อนข้างมาก กล่าวกันว่าการพัฒนาครูนั้นนอกจากจะพิจารณาบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงแล้วจะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะครูด้วย สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ครูจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น แต่การพัฒนาครูที่ผ่านมาประเทศไทยยังประสบปัญหาในด้านการพัฒนาครูบางประการจากผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่าการพัฒนาครูยังขาดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเพราะงบประมาณจำกัด ไม่ตรงกับความต้องการของครู และขาดการติดตามประเมินผลการพัฒนา และยังพบว่าการพัฒนาครูในปัจจุบันยังไม่มีเอกภาพด้านนโยบายและมาตรฐานที่ชัดเจน แม้ว่าหน่วยงานต่างๆจะจัดโครงการพัฒนาครูเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังซ้ำซ้อน ไม่เป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพและขาดความต่อเนื่อง พบว่าส่วนใหญ่หน่วยงานกลางเป็นผู้จัด วิธีการส่วนใหญ่ใช้การอบรม บรรยาย ประชุมกลุ่มย่อยและสรุปความคิดเห็นต่อที่ประชุมใหญ่ อีกทั้งมีผู้เข้าประชุมค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือครูต้องละทิ้งการสอนเข้ามารับการอบรมจึงค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถติดตามผลการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เห็นผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้ตรงประเด็นดังนั้นเพื่อเป็นการแสวงหามาตรการและแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับยุคสมัยของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะทำให้ครูสามารถนำผู้เรียนไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ นำโรงเรียนไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม แสวงหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับงบประมาณการลงทุนเพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาโดยต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาครูเป็นประการสำคัญ จากการกำหนดเป็นสมรรถนะเชิงวิชาชีพเป็นฐานการพัฒนา ( Competency-Based )
สมรรถนะวิชาชีพครูไทย : การพัฒนาสู่สังคมยุคใหม่
การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูภายใต้สังคมแห่งยุคโลกาภิวัตน์หรือ The Globalization นั้นได้มีการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในหลายหน่วยงาน ในที่นี้ขอน าเสนอบทสรุปการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้พัฒนาสมรรถนะและตัวบ่งชี้ของครูไทย โดยแบ่งออกเป็นสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน (
Functional Competency ) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ดังนี้
สมรรถนะหลัก ( Core Competency ) ได้แก่
1). การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
2). การบริการที่ดี
3). การพัฒนาตนเอง
4). การท างานเป็นทีม
5). จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
สมรรถนะที่ 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ( Working Achievement Motivation )หมายถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพและผลงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความสามารถในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์สังเคราะห์
ภารกิจงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 3. ความสามารถในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 4. ความสามารถในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
สมรรถนะที่ 2. การบริการที่ดี ( Service Mind ) หมายถึงความตั้งใจและความเต็มใจในการ
ให้บริการ และการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ผู้รับบริการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความตั้งใจและเต็มใจในการให้บริการ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ
สมรรถนะที่ 3. การพัฒนาตนเอง ( Self Development ) หมายถึงการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาการและวิชาชีพ มีการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม
เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาการและวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย
สมรรถนะที่ 4. การท างานเป็นทีม ( Team Work ) หมายถึงการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ
สนับสนุน เสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นหรือทีมงาน แสดงบทบาทของการเป็น
ผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสมในการท างานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างและดำรงสัมพันธภาพของสมาชิกตลอดจน
เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การให้ความร่วมมือช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อร่วมงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตาม
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จ
ตามเป้าหมาย
สมรรถนะที่ 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ( Teacher’s Ethics and Integrity )
หมายถึงการประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างทีดี
แก่ผู้เรียนและสังคม เพื่อสร้างความศรัทธาในวิชาชีพครู ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. มีวินัยและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การดำรงชีวิตที่เหมาะสม
สมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะคือ
1). การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
2). การพัฒนาผู้เรียน
3). การบริหารจัดการชั้นเรียน
4). การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
5). ภาวะผู้นำครู
6). การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน
สมรรถนะที่ 1. การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ( Curriculum and Learning Management ) หมายถึงความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การสร้างและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางและท้องถิ่น
ตัวบ่งชี้ที่ 2. ความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สมรรถนะที่ 2. การพัฒนาผู้เรียน ( Student Development ) หมายถึงความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การพัฒนาทักษะชีวิตและสุขภาพกาย สุขภาพจิตผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทยให้แก่ผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สมรรถนะที่ 3. การบริหารจัดการชั้นเรียน ( Classroom Management ) หมายถึง การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา การกำกับดูแลชั้นเรียน/รายวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และความปลอดภัยของผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา
ตัวบ่งชี้ที่ 3. กำกับดูแลชั้นเรียนรายชั้น / รายวิชา
สมรรถนะที่ 4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ( Analysis & Synthesis & Classroom Research ) หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจ แยกประเด็นเป็นส่วนย่อย รวบรวม ประมวลหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบและนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การวิเคราะห์รายการพฤติกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสังเคราะห์รายการพฤติกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
สมรรถนะที่ 5. ภาวะผู้นำครู ( Teacher Leadership ) หมายถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมของครูที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยปราศจากการใช้อิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู ( Adult Development )
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสนทนาอย่างสร้างสรรค์ ( Dialogue )
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง ( Change Agency )
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง ( Reflective Practice )
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ( Concern for Improving Pupil Achievement )
สมรรถนะที่ 6. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ( Relationship & Collaborative-Building for Learning Management ) หมายถึง การประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้
กล่าวโดยรวมว่าสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) 5 สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) 6 สมรรถนะที่กล่าวมานั้น เป็นปัจจัยสำคัญของการนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพครูที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบท ( Context ) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน เป็นไปตามเป้าหมายในการพัฒนาครูยุคใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่ได้กำหนดไว้เป็นวาระสำคัญในวงการศึกษาไทยแนวคิดในการสร้างสมรรถนะเชิงวิชาชีพของครูไทยยุคใหม่นั้น ขอน าเสนอตัวแบบแนวคิดของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้าง Competency ดังกล่าว ทั้งนี้โดยองค์กรมีการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ( Vision ) และภารกิจ ( Mission ) ขององค์กรเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ( Strategies )ที่จะนำไปสู่การสร้างคุณค่า ( Value ) และวัฒนธรรมองค์กร( Culture )ให้บังเกิดขึ้น ภายใต้กระบวนงานตามสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) และสมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) ที่กำหนดไว้ตัวแบบ ( Model ) ของการสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูที่มีประสิทธิภาพดังที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น อาจสรุปให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพมุ่งสู่การปฏิรูปหลักสูตรใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552-2561 ) นั้น “หลักสูตร”จะเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาการเรียนรู้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูป 4 ประเด็นหลักของการจัดการศึกษานอกจากจะมุ่งหวังให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2561 แล้ว ยังมีประเด็นสำคัญอีกหลายประเด็นที่จะเป็นตัวแปรสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของคนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมให้มีความพร้อมต่อการก้าวสู่ความเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือที่เรียกว่า ASEAN Community ปัจจัยสำคัญหนึ่งของการสร้างความพร้อมให้กับทรัพยากรบุคคลก็คือการให้การศึกษาที่มีคุณภาพภายใต้การใช้หลักสูตร ( Curriculum ) ในการจัดการเรียนรู้นั่นเอง ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งที่จะสร้างทรัพยากรบุคคลให้ก้าวไปในเวทีโลกและในสังคม ASEAN ได้อย่างเหมาะสมและมีศักดิ์ศรีในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( Basic Education Curriculum ) ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็เช่นเดียวกัน ได้มีกระแสการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็มีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการปรับแก้รื้อถอนเพื่อสร้างหลักสูตรขั้นพื้นฐานขึ้นมาใหม่จากหลากหลายทรรศนะมุมมองที่แตกต่างกันไป

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน



           Learning log
In Class : 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
          1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
          2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
           3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
           4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้
           5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
           6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                        สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
2.  ซื่อสัตย์สุจริต
3.  มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
7.  รักความเป็นไทย
8.  มีจิตสาธารณะ

Out Class : 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
             สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
             1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
              2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
               3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
                4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
                5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
              

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกในห้องเรียน และนอกห้องเรียน 8/7/56

                      บันทึกการเรียนรู้ในเรียน
Out Class :
8 กรกฎาคม พ.. 2556
            1. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
            การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลได้ดังนี้
1.1 โครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างสังคมไทยแบ่งออกเป็น 2  ลักษณะคือ 
            -ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม
            -สังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม
1.2 ค่านิยมในสังคม
            ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาค่านิยมต่างๆในสังคมไทย  หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะศึกษาและเลือกค่านิยมที่ดีและสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมไทย1.3 ธรรมชาติของคนในสังคม 
            การพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ  บุคลิกภาพของคนในสังคม   โดยศึกษาพิจารณาว่าลักษณะใดควรจะคงไว้ลักษณะใดควรจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่  พึงประสงค์ของสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อที่จะจัดการศึกษาในอันที่จะสร้างบุคลิกลักษณะของคนในสังคมตามที่สังคมต้องการ  เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต

1.4 การชี้นำสังคมในอนาคต 
            การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา  และระบบพัฒนาหลักสูตรของไทยเป็นลักษณะของการตั้งรับมาโดยตลอด ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
1.5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง 
            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต จรรโลงสภาพสังคมในอนาคตให้ดีขึ้นลักษะประชากรที่มีคุณภาพดีมีดังนี้
 -  มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ทำประโยชน์แก่ครอบครัว
เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
มีสติปัญญา หมั่นเสริมสร้างความรู้ความคิดอยู่เสมอ
มีนิสัยรักการทำงาน ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ภักดี
มีมนุษยสัมพันธ์ และมีมนุษยธรรม
            การจัดการศึกษาจำเป็นต้องวางแผนและดำเนินการเชิงรุก โดยการให้ความสำคัญกับการคาดการณ์ แนวโน้มอนาคตทางด้านการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาในประเทศให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง รวมถึงใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1.6 ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม
            ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ในหลักสูตรควรเป็นหลักธรรมในศาสนาต่างๆและควรเปรียบเทียบหลักธรรมของศาสนาเหล่านั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าทุกศาสนามีเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน  คือสอนให้คนเป็นคนดีเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม
            สรุป การพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญคือ การศึกษาแนวโน้ม ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง การศึกษา ดังนั้นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นต้องมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการคิด และทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต อาชีพ วัฒนธรรมสภาพแวดล้อมและทรัพยากรชุมชน ตลอดถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย วิถีไทย ให้ผู้เรียน มีความรู้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดำรงตนภายใต้ความพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมไทยเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
           



บันทึกการเรียนรู้ในเรียน
Out Class :
10 กรกฎาคม พ.. 2556
2. ปรัชญาการศึกษา
            2.1 ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมและวัตถุนิยม
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ
2) ครู เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากการศึกษาจะต้องมาจากครูเท่านั้น
3) ผู้เรียนหรือนักเรียนตามปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม จะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง
4) โรงเรียน มีบทบทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม
5) กระบวนการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ
            2.2 ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)มีรากฐานมาจากปรัชญา จิตนิยมและปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ ทัศนะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา และทัศนะเรื่องศาสนา
            จุดมุ่งหมายของการศึกษา  ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์เพราะมนุษย์มีพลังธรรมชาติอยู่ในตัว พลังในที่นี้คือสติปัญญา จะต้องพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร กำหนดโดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์ (Liberal arts)
2) ครู ปรัชญาการศึกษานี้มีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิตมีวิญญาณ
3) ผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคล
4) โรงเรียน ไม่มีบทบาทต่อสังคมโดยตรง เพราะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก
5) กระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีท่องจำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ และฝึกให้ใช้ความคิดหาเหตุผล
            2.3 ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism) ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนำมาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอการศึกษาจะไม่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กำหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ
            จุดมุ่งหมายของการศึกษา ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ตายตัว เพราะชีวิตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกวัตถุประสงค์ของการศึกษาก็เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแนวทางในการแก้ปัญหา
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร  ครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
2) ครู ไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ในการแนะแนวทางให้แก่ผู้เรียนแล้วจัดประสบการณ์ที่ดีที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน
3) นักเรียน ปรัชญานี้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนโดยเน้นให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (
Learning by
doing)
4) โรงเรียน ทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสังคม
5) กระบวนการเรียนการสอน เป็นการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (
Child centered)
            2.4 ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) มีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน
            องค์ประกอบของการศึกษา
1.หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคม
2
. ครูทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
3
. ผู้เรียน ปรัชญานี้เชื่อว่า ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม
4
.โรงเรียน ตามปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมโรงเรียนจะมีบทบาทต่อ
5. กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม
สังคมโดยตรง โดยมีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม
            2.5 ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) มีความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง
            จุดมุ่งหมายของการศึกษา  การศึกษาจะต้องทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเอง ว่ามีความต้องการอย่างไร แล้วพัฒนาตนเองไปตามความต้องการอย่างอิสระ เพื่อจะได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการเลือกเรียนได้ตามความพอใจ และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ไม่กำหนดตายตัว แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น เนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นทางสาขามนุษยศาสตร์ (
Humanities)
2) ครู มีบทบาทคล้ายกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว
3) ผู้เรียน ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากที่สุด ให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง
4) โรงเรียน ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน
5) กระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ให้ผู้เรียนพบความเป็นจริงด้วยตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเอง กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นการมีส่วนร่วมเป็นหลักสำคัญในการเรียนรู้
           
3. ด้านการเมืองการปกครอง
            มโนทัศน์สำคัญ
            ข้อมูลพื้นฐานเป็นข้อมูลในด้านต่างๆที่จำเป็น ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์และใช้ประกอบการพิจารณาในการสร้างหรือจัดทำหลักสูตรในทุกองค์ประกอบของหลักสูตร  อันได้แก่  ข้อมูลทางสังคม  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  การเมืองการปกครอง
            การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร  ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆตั้งแต่กระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กระบวนการกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้  กระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนและกระบวนการประเมินผล  เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม   เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆจากหลายๆแห่งและจากบุคคลหลายๆฝ่าย  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร   นโยบายของรัฐ
            เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ ในสังคม นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัด คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
            รากฐานของประชาธิปไตย
            จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะได้วางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง  กล่าวโดยสรุปคือสามารถใช้หลัดสูตรเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมใหม่ในทิศทางที่ถูกต้องได้  การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษา  วิเคราะห์  สำรวจ  วิจัย  สภาพพื้นฐานด้านต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้สนับสนุน  อ้างอิงในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดี  สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ  และทัศนะคติที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้

           
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
         กระดานอัจฉริยะกระดานอัจฉริยะนั้นเปรียบเสมือนจอรับภาพขนาดใหญ่ซึ่งสามารถที่จะสัมผัสได้โดยตรงที่ตัวกระดานอัจฉริยะได้เลยนั้นเอง การทำงานจะคล้าย ๆ กับโทรศัพท์ระบบสัมผัส (I-phone) ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระดานอัจฉริยะนั้นได้มีการนำเข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้ว  ใช้ปากกาเฉพาะในการเขียนหรือสัมผัส สามารถเขียนได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน มีซอฟแวร์สื่อการเรียนการสอน พร้อมซอฟแวร์กระดาน มีโปรแกรมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนมากมาย เช่น สร้างหน้ากระดาษขาว, ปากกาเขียนรูปแบบต่างๆ,คลังภาพเคลื่อนไหว, บันทึกวีดีโอ
            เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ                                                          เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้
            เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ
           
5. แนวความคิดจิตวิทยา
            แนวความคิดจิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
            โครงสร้างของจิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์
, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ,
 2. เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่
            ความมุ่งหมายและประโยชน์
1. จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2. ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก                                                                  
3. ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4. ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
            ผลการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้
            การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ในแบบ
Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง
            ผลการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น ดิวอี้
1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา
3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงาน เช่น มีการวางแผนการทำงาน มีความรับผิดชอบ
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ
5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา                                                      
6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป
            ผลการเรียนรู้ของวิลเลียม เจมส์
1. มีกระบวนการพิสูจน์ ความจริง พิสูจน์ให้เห็นจริง สามารถอธิบายได้ และก่อให้เกิดผลหรือ ประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
2. มีกระบวนการนำทาง ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปอธิบายเรื่องอื่นได้
            6. การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development)
       Economic Development และ Economic Growth แตกต่างกันอย่างไร?
¢ Economic Development คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม
¢  Economic Growth คือ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น
ดังนั้น *** การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจความหมาย
                  การทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
 
           ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
                กระบวนการที่ทำให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (
Real Per Capita Income) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายรายได้เป็นธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
          การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
               
การเพิ่มขึ้นของผลผลิต/รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริง
         เครื่องบ่งชี้ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ
             การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติที่แท้จริงต่อบุคคล
             อัตราค่าจ้างแรงงาน
             อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากร
             อัตราการรู้หนังสือ
             อัตราการรู้หนังสือ
             อัตราการเพิ่มของพลเมือง
    ลักษณะของประเทศกำลังพัฒนา
        ประชากรส่วนใหญ่มีมาตรฐานการครองชีพต่ำ
         มีอัตราการขยายตัวของประชากรสูง
         ขาดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
         ขาดแคลนเงินออม
         สภาพสังคมไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา
         ต้องพึ่งพาและถูกครอบงำจากต่างประเทศ
   ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
        ทรัพยากรมนุษย์
        ทรัพยากรธรรมชาติ
        การสะสมทุน
        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
     กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจ
        การเติบโตแบบสมดุล
        การเติบโตแบบไม่สมดุล
        ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า
        พัฒนาระหว่างสาขาการผลิต 
   เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
        เพื่อทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น
        เพื่อลดอัตราการว่างงาน,เงินเฟ้อ/ฝืด
        ดุลการชำระเงินสมดุล
        การกระจายรายได้เป็นธรรม
        พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
            เป็นการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยกำหนดออกมาในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            จัดทำโดย  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : สศช.   เริ่มจัดทำครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2504
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
·       เป็นแผนที่อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนา
·       ยึดหลักทางสายกลางสามารถพึ่งตนเองได้และนำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน
·       คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา


นางสาววิภารัตน์   ทองบางพระ
รหัสนักศึกษา 5581103051