วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน 22/08/56


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน 22/08/56


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
In class:22 สิงหาคม 2556

ในวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้เข้าสอนในวิชาพัฒนาหลักสูตร อาจารย์ได้ให้พวกเราสอบกลางภาคกัน โดยให้ข้อสอบมา 2 ข้อ ใช้เวลาในการสอบในคาบเรียนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

แบบบันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน 16/08/56

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
out class:16 สิงหาคม 2556
ดิฉันได้ศึกษาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง วิธีการเขียนหลักสูตร โดยการทำดังนี้

1.      ชื่อเรื่อง

2.      ความสำคัญ

3.      จุดมุ่งหมาย

4.      วัตถุประสงค์

5.      เนื้อหาของหลักสูตร

6.      เวลาเรียน

7.      สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

8.      กิจกรรมการเรียนรู้

9.      ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

10.  โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร

จากการที่ไดมีการศึกษาการเขียนหลักสูตร เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำหลักสูตรของตนเอง ว่าสมควรหรือไม่สมควรในการจัดทำหลักสูตร

แบบบันทึกการเข้าฟังบรรยาย วันที่ 15 สิงหาคม 2556


Learning Log

แบบบันทึกการเข้าฟังบรรยาย วันที่ 15 สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับ การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย นายบุญเรือง วุฒิพงศ์ รองผู้อำนวยการ สพป.นศ.3 ซึ่งในการเข้าฟังบรรยายในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับ ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุคประชาคมอาเซียน ซึ่งข้าพเจ้าสรุปออกมาได้ดังนี้

การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาในระดับก่อนอุดมศึกษา ตามมาตรา49 กล่าวไว้ว่า”บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” มาตรา80(3) “พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้า” 

ความหมายและคำนิยามแห่งการศึกษาที่ควรรู้

การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสาน วัฒนธรรมฯ

การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน  มหาวิทยาลัย ที่มีอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัด

การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก (สม..)

ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษา

ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอน และการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

หลักการศึกษาตาม พ...การศึกษาแห่งชาติ

1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน

2.ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ระบบการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ

1.การศึกษาในระบบ

2.การศึกษานอกระบบ

3.การศึกษาตามอัธยาศัย

แนวการจัดการศึกษา

1.ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.เน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการ ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ

3.ส่งเสริมและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ

4.ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน

5.ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การแบ่งระดับ/ประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐาน

            1.การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา

            2.การศึกษาระดับประถมศึกษา

3.การศึกษาระดับมัธยมศึกษา

            3.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

            3.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โครงสร้างการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.กระทรวงศึกษาธิการ (รมต./รมช.)

2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ สพฐ.)

3.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.เขตพื้นที่ฯ)

4.สถานศึกษา (ผอ.สถานศึกษา)

บทบาทหน้าที่ของบุคลากรและหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      โครงสร้างบุคลากรที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี, รมต./รมช., ปลัดกระทรวง, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา, ผอ.สถานศึกษา และครูและบุคลากร

องค์คณะท่ามีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่เกิน 27 คน) มีหน้าที่ กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่บริหารงานบุคคล กำหนดหลักสูตร วิธีการสอบ

3.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (15 คน) มีหน้าที่วิเคราะห์การจัดตั้งโรงเรียน ยุบโรงเรียน

4.คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.... 10 คน)

มีหน้าที่สอบคัดเลือกครู สอบบรรจุครู

5.คณะกรรมการการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.... 9 คน) มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การวัดการประเมินผลรายปี

6.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (9/15 คน)

การศึกษาภาคบังคับ

ความหมาย : การศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เด็ก : เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16

ผู้ปกครอง : บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้ที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรืออยู่รับใช้การงาน

หน่วยงาน/องค์การที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ รัฐบาล, เอกชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, บุคคล/ครอบครัว, องค์กรเอชน, องค์กรชุมชน, องค์รวิชาชีพ, สถาบันศาสนา, สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ

การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุคประชาคมอาเซียน

วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

จุดเน้น สู่การพัฒนาผู้เรียน คือ คุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักกษณะที่ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณภาพ

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

1.พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่

2.พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่

3.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่

4.พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

เป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษา

เป้าหมายที่ 1 คนไทยในการศึกษาไทยมีคุณภาพ และได้มาตรฐานระดับสากล

เป้าหมายที่ 2 คนไทยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายที่ 3 คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ

เป้าหมายที่ 4 คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

จุดร่วมของอาเซียนในการยกระดับคุณภาพการศึกษา

1.การมุ่งสู่สังคมฐานความรู้

2.ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ระดับสากล

3.การตอบสนองต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น

4.ใช้การศึกษาเป็นแนวทางยกระดับศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

5.การศึกษาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์อย่างรอบด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น